วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัย เยล :โปรแกรมสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยโฟนิมิคส์ และ โฟนิคส์ได้ผลจริง

The English Clinic โดย Cyber School of English
รายงานการวิจัยท ี่เกี่ยวกับผลของการเรียนโฟนิคส์
(Scientific Documentation on the effects of Phonics)
แปลและเรียบเรียงโดย ดร. อินทิรา ศรีประสิทธิ์


งานวิจัย แสดงให้เห็นว่า โปรแกรม สอน อ่านด้วย โฟนิมิคสืและ โฟนิคส์ ที่มีคุณภาพและได้รับการออกแบบมาอย่างถูกต้องช่วยคนที่อ่อนภาษาอังกฤษได้จริง

สมองของเด็กที่ไม่มีปัญหาในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเช่นการอ่าน  (รูปซ้าย)  เปรียบเทียบกับผู้มีปัญหา (รูปขวา ) ที่สมองส่วนหลังไม่ได้รับการกระตุ้น

ข่าวจาก แอสโซซิเอทเท็ด เพรส   (AP) : 23  เมษายน   2004  เมือง นิว ฮาเว้น รัฐ คอนเน็คติคัท
·       งานวิจัยได้ แสดงให้เห็นว่า เส้นไยสมองของเด็กที่อ่านภาษาอังกฤษไม่เก่งจะมีการแตกตัวและเบ่งบาน ทำให้ความสามารถในการอ่านดีขึ้น เมื่อครูสอนเด็กเหล่านั้นด้วยการใช้โปรแกรมสอนอ่านที่เรียกว่าโฟนิมิคส์และโฟนิคส์ ที่ถูกออกแบบมาตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (scientifically- based reading instruction)

·       นักวิจัยของ คณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเยล (Yale)  ได้ใช้เครื่อง MRI สแกนมันสมอง ของเด็กที่ได้เรียนโปรแกรมโฟนิคส์อย่างเข้มข้น พบว่า ส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมทักษะทางด้านการอ่าน ได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อย่าง ถาวร แม้การการเรียนโฟนิคส์จะสิ้นสุดลงมาแล้ว 1ปี

·       เด็กที่เคยอ่านภาษาอังกฤษไม่เก่ง จะมีพัฒนาการทันเด็กที่อ่านเก่งตั้งแต่แรก โดยเฉพาะทางด้าน ความคล่องของการอ่าน (reading fluency) และ ความ เข้าใจบทอ่าน (text comprehension) ดร . เซลลี่ เชวิธซ์  (Sally Shaywitz) หัวหน้าทีมวิจัย และผู้เชี่ยวชาญทางด้านปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษระดับชาติกล่าว

 ผลของการวิจัยนี้ ทำให้เรา มีความหวังว่า เด็กเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะเรียนภาษาอังกฤษเก่งขึ้น แต่สมองเขา ยังได้รับการจัดระเบียบหรือระบบใหม่  (brains can  be reorganized) เราหวังว่า งานวิจัยนี้จะช่วยให้ ผู้บริหารการศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง และสาธารณชนทั่วไป ที่มีส่วนร่วมหรือมีอิทธิพลต่อการวางนโยบายของรัฐ ได้ตระหนักถึงผลของงานวิจัยนี้ เพื่อเด็กๆทุกคนจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการใช้โปรแกรมสอนอ่านโฟนิคส์ เสริมในหลักสูตรปัจจุบัน

·       งานวิจัยติดตามเด็กอายุ 6-9   ปี จำนวน  77 คน ในเมืองนิวฮาเว้น (New Haven) และไซราคิวส์ (Syracuse)   รัฐ นิวยอร์ค ในจำนวนนี้ มีเด็ก 49 คนที่อ่านภาษาอังกฤษได้ดี และที่เหลือเป็นเด็กที่มีปัญหาในการอ่าน

·       สามในสี่ส่วนของเด็กที่อ่านภาษาอังกฤษไม่เก่ง ได้รับการติวจากทีมงานสอนโฟนิคส์ที่นำเอาบทเรียนโฟนิคส์ ที่เป็นหลักสูตรเข้มข้น ที่เป็นผลจากงานวิจัยของคณะกรรมการการอ่านแห่งชาติ (National Reading Panel)  ซึ่งรัฐสภาคองเกรสได้แต่งตั้งขึ้นในปี 1997  บทเรียนที่ใช้ติวเด็กเหล่านี้เป็นบทเรียนโฟนิคส์ที่ถูกออกแบบมาอย่างเป็นระบบ แบบที่เรียกว่า explicit, systematic and sequential direct instruction (เช่น โปรแกรมโฟนิคส์เข้มข้นที่คลินิคหมอภาษาอังกฤษได้ นำมาใช้สอนโฟนิคส์ ในประเทศไทย ) ส่วนเด็กที่เหลือได้รับการติวภาษาอังกฤษแบบปกติธรรมดาที่ทำกันในโรงเรียนทั่วไป

·       ก่อนหน้านี้ งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเด็กที่อ่านไม่เก่ง มีความผิดปกติสองแห่งที่เส้นไยสมองส่วนหลัง  ส่วนหนึ่งเป็นเส้นไยที่ควบคุมทักษะภาษา และอีกส่วนหนึ่งควบคุมทักษะการอ่าน  เมื่อสมองของเด็กที่อ่านเก่งถูกสแกนด้วยเครื่อง MRI   ในระหว่างการอ่าน พบว่าศูนย์กลางของสมองจะได้ รับการกระตุ้น แต่สำหรับเด็กที่อ่านไม่เก่ง ส่วนหลังของสมองในบริเวณเดียวกันไม่มีร่องรอยของการได้รับการกระตุ้นแม้แต่น้อย
·       คำถามก็ คือระบบเส้นไยสมองนี้จะได้รับการซ่อมแซมแก้ไขได้ไหม  ? ดร เชวิธซ์  ตั้งคำถาม  “ และถ้า เราให้ เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสได้รับการ ติวเข้มอย่าง มีระบบ       เราไม่เพียง แต่จะทำให้ เขามีความสามารถในการอ่านดีขึ้น เท่านั้น แต่ เรายังสามารถจัดระเบียบเส้นไยสมอง ของเด็กเหล่านี้ ได้ไหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
·       ในงานวิจัยนี้ เด็กที่ได้รับการติวเข้มหลักสูตรโฟนิคส์ จะแสดงความก้าวหน้าในการอ่านดีกว่าเด็ก ที่ได้รับการติวแบบธรรมดา และเครื่องสแกนสมอง MRI  แสดง ให้เห็นถึงร่องรอยของเส้นไยสมองใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในส่วนที่ไม่ได้แสดงร่องรอยมาก่อนว่าได้รับการกระตุ้น
·       และเราก็พบอีกว่า อย่างน้อย 1 ปีหลังจากที่ได้มีการติวเข้มสิ้นสุดลง  ระบบสมองที่ควบคุมการอ่านยังกระชับ และยังคงมีสภาพเหมือนกับของเด็กที่ไม่มีปัญหาในการอ่าน ดร. เบเน็ท เชวิธซ์ ผู้ร่วมวิจัยกับภรรยาในงานวิจัยนี้ กล่าว
·       งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนด้วยเงินทุน ของสถาบันสุขภาพของเด็กและการพัฒนาศักยภาพมนุษย์แห่งชาติ (The National Institute of Child Health and Human Development)   ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพ แห่งชาติ (National Institute  of Health)ของสหรัฐฯ และได้ถูก ตีพิมพ์ในวารสาร  Biological Psychiatry ฉบับเดือน พฤษภาคม ปี  2004
·       งานวิจัยนี้ ยังได้ แสดงให้เห็นว่าระบบสมองที่ควบคุมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ จะตอบสนอง ต่อการติวทางด้านการอ่านที่ได้ผลเท่านั้น (effective reading instruction) และ งานวิจัยนี้ สอดคล้องกับผลของการสังเกตุการน์พฤฒิกรรมของเด็กในห้องเรียน   นาย เฟอร์กูสัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการอ่าน และ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยม ในเมือง ฮูสตัน กล่าวสนับสนุน


·       คณะกรรมการการอ่านแห่งชาติ สหรัฐ ได้เสนอแนะให้เด็กทุกคนที่อยากเก่งภาษาทุกทักษะ   ต้องเริ่มด้วยการเรียนรู้หลักสูตรโฟนิมิคส์ที่สอนให้รู้จักแยกแยะหน่วยเสียงภาษาอังกฤษ  และการเชื่อมโยง หน่วยเสียงกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือที่รู้จักกัน ทั่วไปว่าโฟนิคส์ และ หลังจากนั้น ครูผู้สอนจะ ต้องติวเด็กทางด้านความคล่องของการอ่าน (reading fluency ) พัฒนาคลังคำศัพท์ (Vocabulary development) และความเข้าใจในบทอ่าน (text comprehension)  พร้อมๆ กัน

·       เด็กทุกคน จำเป็นที่จะต้องเรียนหลักสูตรนี้ อย่างมี ระบบไม่ ใช่ อย่างไม่มีระบบ แบบตรงนี้นิด ตรงนี้หน่อย และต้องเรียนต่อเนื่องกันอย่างมีระบบจนครบองค์ความรู้จึงจะได้ ผล    “ Children need to learn this not randomly or in a fragmented way, but in a comprehensive and systematic way,”
·       เด็กๆ จะอ่านเก่ง ถ้ามีคนอ่านให้เขาฟังตั้งแต่เด็ก และถ้าเขาได้รับการสนับสนุนและได้รับการกระตุ้นให้อยากอ่าน 
“ Children are better readers if they are read to at a young age and if they are motivated and encouraged.”  ดร. เชวิธซ์ กล่าวสรุป

คลินิคหมอภาษาอังกฤษ โดย Cyber School of English – นำโปรแกรมโฟนิมิคส์ และโฟนิคส์ ชั้นนำ ของโลกมาเพื่อให้คนไทยจะได้ฟื้นฟูภาษาอังกฤษอย่างถูกวิธี  สอนทั้งออนไลน์และอบรมในห้องเรียน
โดย ดร. อินทิรา ศรีประสิทธิ์  และทีมงานผู้ทรงคุณวุฒิ
Tel 08-1915-7537, 02-3781428
www.cyber-smart.org


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น